อ่านหนังสือ "เรื่องเล่าจากร่างกาย" เค้าบอกว่าร่างกายของเราไม่ต่างจากเมื่อ 200,000 ปีก่อน (ในแง่วิวัฒนาการ)
คือเอา Homo sapiens เมื่อ 200,000 ปีก่อนมาไว้ในโลกปัจจุบันก็สามารถเรียนรู้และมีชีวิตอยู่ได้ไม่ต่างจากเราๆ ว่างั้น
และยังบอกอีกว่าในสมัยนั้น "มนุษย์" ใช้ชีวิตล่าสัตว์อยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาที่แอฟริกา (อยากไปเห็นสักครั้งจัง)
ซึ่งแน่นอนว่าการหาอาหารในสมัยนั้นไม่สะดวกเหมือนเดินเข้า 7-11 แบบทุกวันนี้
พอมีโอกาส "ล่า" ได้สักครั้งจึงต้องกินให้เต็มที่ เก็บสะสมอาหารไว้ในร่างกาย เพราะไม่รู้ว่าจะล่าได้อีกเมื่อไหร่
นั่นคือ "ตุน" ไว้ให้เต็มที่เท่าที่ทำได้
ยุคนั้นมนุษย์คงทำสิ่งต่างๆ ไปตามความต้องการของร่างกาย
ไม่น่าจะมีกระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลมากนัก
เรื่องนี้เราเรียนรู้ได้จากเด็กทารกในปัจจุบัน
ที่เกิดมาก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากรอให้พ่อแม่ป้อนข้าวป้อนน้ำ
การแสดงออกก็เป็นไปตามแรงขับเคลื่อนภายใน เช่น หิว ง่วง ปวดขี้ ปวดฉี่ ฯลฯ
และปัจจัยภายนอก เช่น ร้อน หนาว เสียงดัง เจ็บ คัน ฯลฯ
ซึ่งพฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปตามการสั่งสอนของคนที่เลี้ยงดู (ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การอบรสั่งสอน)
แสดงให้เห็นว่าแรกเริ่มเดิมที มนุษย์แสดงออกเพื่อสื่อสารอารมณ์ที่รู้สึกขณะนั้น
แต่เมื่อมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น การใช้แต่ "อารมณ์" อย่างเดียวอาจไม่สามารถได้ผลลัพธ์ดังที่ต้องการ
ในที่สุดมนุษย์ก็เรียนรู้ที่จะมี "เหตุผล" เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ (อาจมีคนสอนหรือเรียนรู้เอง)
รู้จักความอดทน การรอคอย เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
มนุษย์เรามี "ความต้องการ" เป็นสิ่งตั้งต้น แล้วค่อยหาวิธีให้ได้สิ่งที่ต้องการ
ถ้าใช้ "อารมณ์" แล้วได้สิ่งที่ต้องการ มนุษย์ก็คงใช้แค่อารมณ์ เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยภายในหรือภายนอก
เช่น โมโหเมื่อหิว พอใจเมื่ออิ่ม ทุกข์ใจเมื่อปวดขี้ สุขใจเมื่อได้ขี้ ฯลฯ
แต่ก็นั่นแหละครับ เมื่อใช้แต่อารมณ์แล้วไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
มนุษย์ก็เรียนรู้ที่จะใช้ "เหตุผล"
เหตุผล บอกเราว่า ไม่ว่าเราจะหิวแค่ไหนก็ไม่ควรปล้นหรือขโมย เพราะมันจะทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์
เหตุผล บอกเราว่า ไม่ว่าเราจะปวดขี้แค่ไหนก็ไม่ควรไปขี้หน้าบ้านใคร เพราะมันทำให้เจ้าของบ้านเดือนร้อน จึง
แต่ "เหตุผล" ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เราต้องใช้ "สติ" เป็นตัว "รู้"
และใช้ "ปัญญา" เป็นตัว "เห็น"
จึงจะ รู้-->เหตุ และ เห็น-->ผล
ต่างกับ "อารมณ์" ที่อยู่เฉยๆ เดี๋ยวมันก็มาเอง เดี๋ยวเบื่อ เดี๋ยวอยาก ไม่เคยหยุด
เมื่อมองตามลำดับอย่างนี้
ดูเหมือนว่า "เหตุผล" จะเป็นตัวกำกับ "อารมณ์"
นั่นคือ เมื่อ "อารมณ์" เกิดขึ้นแล้ว "เหตุผล" จะเป็นตัวบอกกับเราว่าควรทำอย่างไร
อย่างนี้มนุษย์เราก็น่าจะมาไกลจากเมื่อ 200,000 ปีก่อนพอสมควร
เรารู้แล้วว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ ด้วย "เหตุผล"
แต่ที่เป็นอยู่ในสังคมนี้
มนุษย์เราสามารถใช้ "เหตุผล" เป็นตัวสนอง "อารมณ์" ได้อย่างภาคภูมิ!!!
เราอยากกินอาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน เราก็มีเหตุผลว่า เราไม่ได้กินบ่อยๆ และเดี๋ยวก็ไปออกกำลัง
ซึ่งไม่บ่อยนี่คือ วันเว้นวัน เพราะถ้าบ่อยต้องทุกวันทุกมื้อ
ออกกำลังที่ว่าก็คือ การเดินช้อปปิ้งในห้าง แอร์เย็นๆ...-_-
เห็นของลดราคาก็บอกว่า มันคุ้มค่ามาก ไม่ได้ลดบ่อยๆ สมควรซื้ออย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่ก็ไม่รู้จะเอาไปใช้ทำอะไร
รู้สึกชอบใคร ก็หาเหตุผลมากมายมาชื่นชมเค้า โดยไม่สนใจผิดถูก
รู้สึกเกลียดใคร ก็มีแต่ข้อตำหนิ โดยไม่สนใจความเป็นจริง
ฯลฯ
เรามาไกลจากยุคที่ต้อง "ตุน" อาหารไว้ในร่างกายเพราะอาหารเป็นสิ่งที่หาได้ยาก
แต่ทุกวันนี้ เรากลับครอบครองสิ่งต่างๆ จน "ล้น" ความจำเป็น
ด้วยพัฒนาการทางความคิด สังคมมนุษย์ควรจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข แต่ในความเป็นจริงเรากลับทะเลาะกับในทุกระดับ
ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ตำบล อำเภอ ประเทศ ทวีป ต่อไปคงทะเลาะกับมนุษย์ต่างดาว และบางคนก็สามารถทะเลาะกับตัวเองได้อีก!!!
ตลอด 200,000 ปี สายพันธุ์ Homo sapiens ไม่ได้เปลี่ยนแปลงนักทายกายภาพ
แต่ทาง "ความคิด" และ "การกระทำ" เราไม่จำเป็นจะต้องหยุดอยู่กับที่ หรือถอยหลังไปกว่าเดิม
หรือแท้จริงแล้ว มนุษย์เราควรกลับไปอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาอย่างที่เคยเป็นมา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น