<< กลับไปอ่าน : ep.2 (ที่มาของไอเดีย) How to Find Story Ideas
เมื่อได้ "ไอเดีย" ที่จะเล่า แล้วจะเล่าอย่างไร, เพื่ออะไร, ทำไม?
เราควรตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อนจะไปสู่ขั้นตอนต่อไป
เพราะการพัฒนาไอเดียให้ออกมาเป็นบทภาพยนตร์นั้นใช้พลังงานสูงมาก
ถ้าเราไม่อยากเล่าเรื่องนั้นจริงๆ ในที่สุดมันจะออกมาเป็นเรื่องราวพื้นๆ ไม่น่าสนใจ หรือเราอาจล้มเลิกไปเสียก่อน
และในฐานะคนดู "เราอยากดูเรื่องราวนั้นมั้ย" ถ้าแม้แต่เราคนเขียนยังไม่อยากดู ก็อย่าไปเล่ามันเลย
การเล่าเรื่องนั้นก็เพื่อสื่อสารบางอย่าง
จาก "ผู้เล่า"--ผ่าน--> "เรื่องราว" --สู่--> "ผู้ฟัง (ผู้ชม)"
เมื่อจะเล่าเรื่อง เราจึงต้องรู้ว่าจะเล่าให้ "ใคร" ฟัง หรือเราจะทำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ "ใคร" ดู
สำหรับหนังอาร์ต หรือหนังอินดี้ เราอาจทำเรื่องที่เราอยากทำ หรืออยากดูก็พอ
แต่หนังตลาดที่ลงทุนสูงมาก จำเป็นต้องมีรายได้จากผู้ชมจำนวนมากถึงจะคุ้มทุน
การเข้าใจกลุ่มคนดูจึงเป็นเรื่องสำคัญ
แล้วเรื่องราวแบบไหนละที่คนอยากดู?
คำตอบอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัยของกลุ่มคนดู รวมทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม อายุ เพศ สถานะทางสังคม ฯลฯ
แต่ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน หรือคนดูกลุ่มไหน
สิ่งสำคัญที่ผู้เล่าต้องทำให้ได้ก็คือ
1. ต้องเล่าให้รู้เรื่อง : เป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องทำให้ได้ คือให้คนดูรู้เรื่องว่าเราเล่าอะไร
2. ต้องเล่าให้ถึงอารมณ์ : ขั้นถัดมาคือทำให้ผู้ชมเข้าถึงอารมณ์ เสมือนเข้าไปอยู่ในเรื่องราวนั้น ให้อารมณ์โอบล้อมเรื่องราวไว้
3. ต้องให้สิ่งพิเศษ : เช่น ข้อคิด ความประทับใจ หรือสิ่งที่จะดำเนินต่อไปในใจของผู้ชม แม้ว่าจะออกจากโรงภาพยนตร์ไปแล้ว
เพราะสำหรับบางคน หนังบางเรื่องอาจสร้างแรงบันดาลใจ จนทำให้เปลี่ยนความคิด หรือวิถีชีวิตเลยทีเดียว
ซึ่งผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น
>> อ่านต่อ : ep.4 (ใส่หัวใจให้เรื่องราว) Art of Storytelling
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น